เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสพระปริยัตติธรรม ที่เสมือนพุ่มไม้งาม
ในป่า ที่ยอดกิ่งออกดอกบานสะพรั่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัตติ-
ธรรมนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งว่า อิทมฺปิ
พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ความ
แห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบ
ความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระปริยัตติธรรมมีประการตามที่
กล่าวมาแล้ว แม้นี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. พวกอมนุษย์ใน
แสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า วโร วรญฺญู


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง
ด้วยปริยัตติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยโลกุตรธรรมว่า วโร
วรญฺญู.
ในคำนั้น บทว่า วโร ความว่า พระพุทธเจ้าผู้อันผู้มีอัธยาศัย
น้อมใจเธอที่ประณีตปรารถนาว่า โอหนอ ! แม้เรา ก็จักเป็นเช่นนี้. หรือ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐสุด เพราะประกอบด้วยพระคุณอัน
ประเสริฐ. บทว่า วรญฺญู ได้แก่ ผู้ทรงรู้พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน
ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. ก็พระพุทธเจ้าพระ-
องค์นั้น ตรัสรู้ปรุโปร่ง ซึ่งพระนิพพานนั้น ที่โคนโพธิพฤกษ์ ด้วยพระองค์
เอง. บทว่า วรโท. ความว่า ประทานธรรมอันประเสริฐที่เป็นส่วนตรัสรู้
และส่วนที่อบรมบ่มบารมีแก่สาวกทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ พระภัททวัคคีย์
และชฎิลเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์อื่น ๆ. บทว่า วราหโร ได้แก่
ที่เรียกว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ จริงอยู่ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ มาตั้งแต่พระพุทธเจ้า

พระนามที่ปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐเก่า ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระองค์ก่อน ๆ ทรงดำเนินมาแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงถูก
เรียกว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.
อนึ่ง พระพุทธเจ้า ชื่อว่า วโร ผู้ประเสริฐ เพราะทรงได้พระ-
สัพพัญญุตญาณ. ชื่อว่า วรัญญู ผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงทำให้แจ้ง
พระนิพพาน ชื่อว่า วรโท ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ เพราะประทาน
วิมุคติสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า วราโห ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ
เพราะทรงนำมาซึ่งปฏิปทาสูงสุด ชื่อว่า อนุตตโร ยอดเยี่ยม เพราะไม่มี
คุณอะไร ๆ ที่ยิ่งกว่าโลกุตรคุณเหล่านั้น.
มีนัยอื่นอีกว่า ชื่อว่า วโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม
คือ อุปสมะ ความสงบระงับ. ชื่อว่า วรัญญู เพราะทรงบริบูรณ์ด้วย
อธิษฐานธรรม คือปัญญาความรอบรู้. ชื่อว่า วรโท เพราะทรงบริบูรณ์
ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ ความสละ ชื่อว่า วราหโร เพราะทรงบริบูรณ์
ด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความจริงใจ. ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.
อนึ่ง ชื่อว่า วโร เพราะทรงอาศัยบุญ ชื่อว่า วรัญญู ก็เพราะทรงอาศัย
บุญ ชื่อว่า วรโท เพราะทรงมอบอุบายแห่งบุญนั้น แก่ผู้ต้องการเป็นพระ-
พุทธเจ้า. ชื่อว่า วราโห เพราะทรงนำมาซึ่งอุบายแห่งบุญนั้น แก่ผู้ต้องการ
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. ชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือนในธรรม
นั้น ๆ หรือเพราะเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ แต่กลับเป็นอาจารย์ของคนอื่น ๆ ด้วย
พระองค์เอง ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงธรรมอันประ-
เสริฐ ที่ประกอบด้วยคุณมีธรรมที่ตรัสดีแล้วเป็นต้น เพื่อผลนั้น แก่ผู้ต้องการ
เป็นสาวก. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม 9
ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ
ว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่
กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรม
ได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย แม้
อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล
ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ขีณํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยปริยัตติธรรมและโลกุตรธรรมแล้วตรัส
สัจจวจนะ มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย 2 คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัย
คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน ของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้สดับปริยัตติ
ธรรมนั้น และปฏิบัติตามแนวที่ได้สดับมาแล้ว ได้บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง 9
ประการ จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า ขีณํ ปุราณํ.
ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ขีณํ ได้แก่ ตัดขาด. บทว่า ปุราณํ แปลว่า
เก่า. บทว่า นวํ ได้แก่ ในบัดนี้ ที่กำลังเป็นไป คือปัจจุบัน. บทว่า
นตฺถิ สมฺภวํ ได้แก่ ความปรากฏ [เกิด] ไม่มี. บทว่า วิรตฺตจิตฺตา
ได้แก่ มีจิตปราศจากราคะ. บทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ ในภพใหม่
ในอนาคตกาล. บทว่า เต ได้แก่ ภิกษุขีณาสพที่สิ้นกรรมภพเก่า ไม่มี
กรรมภพใหม่ แสะมีจิตปราศจากกำหนัดในภพต่อไป. บทว่า ขีณพีชา
ได้แก่ ผู้มีพืชถูกถอนแล้ว. บทว่า อวิรุฬฺหิฉนฺทา ได้แก่ ผู้เว้นจากฉันทะ
ที่งอกได้. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สิ้นไป. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึง